“บอร์ด รฟท.” เคาะค่าเบี้ยเลี้ยง 34 ล้าน ตำรวจดูแลความปลอดภัยผู้โดยสารรถไฟ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เบี้ยเลี้ยงทำขบวนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟ จำนวน 34 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ต.ค. 66-ต.ค. 67 ภายหลังจากกองบังคับการตำรวจรถไฟถูกยุบตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ เบื้องต้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้จัดเจ้าพนักงานตำรวจเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามอัตราเดิมประมาณ 200-300 นาย โดยการจ่ายเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว จะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงิน 34 ล้านบาท
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้าที่จะมีการยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ทาง รฟท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 65 กับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย บช.ก. จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบดูแลสถานีรถไฟ บนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่างๆ ของ รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ จึงขอให้ผู้โดยสารมั่นใจ และอุ่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟ ทั้งภายในขบวนรถทุกขบวน และสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศได้ โดยยืนยันว่าจะมีการดูแลที่ได้มาตรฐานเหมือนเดิม
นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า เจ้าพนักงานตำรวจที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟนั้น ทาง บช.ก และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จะเป็นผู้จัดสรร และจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบว่าใครจะรับผิดชอบขบวนใด และพื้นที่ใด ซึ่งหลังจากที่ บก.รฟคำพูดจาก สล็อต เว็บตรง. ได้ถูกยุติการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 66 ทางเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้เข้ามาปฏิบัติทดแทนทันที ไม่ให้มีช่องว่าง และขาดตอนเรื่องความไม่ปลอดภัยในการใช้บริการบนขบวนรถไฟ และพื้นที่ต่างๆ อย่างไรก็ตาม วงเงินค่าเบี้ยเลี้ยงฯ 34 ล้านบาท เป็นวงเงินเดิมที่ รฟท. เคยจ่ายให้กับตำรวจรถไฟในแต่ละปีอยู่แล้ว
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม รฟท. จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสนับสนุน แลกเปลี่ยน วางแผน ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่ของ รฟท. ด้วย ทั้งในเรื่องของข้อมูลคนร้าย ผู้ก่อเหตุ ผู้ต้องสงสัย ข้อมูลระบบกล้องวงจรปิด เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่รถไฟทุกรูปแบบ ตลอดจนช่วยป้องกันปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินของ รฟท. ด้วย
นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังมอบให้ รฟท. พิจารณาจัดหามาตรการเสริมเรื่องการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารให้มากขึ้นด้วย เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุด อาทิ ติดตั้งกล้อง CCTV ตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะบนขบวนรถไฟให้มากขึ้น และการติดกล้องที่หน้าอกของพนักงานตรวจตั๋วโดยสาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกล้อง CCTV และกล้องติดหน้าอกพนักงานตรวจตั๋ว ได้ในปี 67 ซึ่งแม้ รฟท. ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เรื่องความปลอดภัย เป็นนโยบายที่ รฟท. ให้ความสำคัญที่สุด จะไม่นำเรื่องขาดทุนมาเป็นอุปสรรค.