เปิดทิศทางแผนริเริ่ม 1 แถบ 1 เส้นทางของจีน หลังครบรอบ 1 ทศวรรษ
เวลานี้ทุกสายตาจับจ้องไปที่การรวมตัวกันของตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมครบรอบ 10 ปีของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน
เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่กรุงปักกิ่ง ของจีน มีผู้นำจากประเทศต่าง ๆตลอดจนผู้บริหารนักธุรกิจ และนักวิชาการรวมกว่า 130 ประเทศ และ 30 องค์กรระหว่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมเวทีสำคัญอย่างการประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (BRF) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 และมีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นเจ้าภาพ
อินโดนีเซียเปิดตัว “รถไฟหัวกระสุน” เป็นชาติแรกในอาเซียน
จีนเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงข้ามทะเล สายแรกของประเทศ คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
การประชุมนี้มีความสำคัญโดยเฉพาะกับประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจีนเข้าไปสนับสนุนการลงทุน เพราะจะได้เห็นถึงทิศทางของจีนต่อจากนี้ว่าจะเป็นอย่างไร
การรวมตัวของบรรดาผู้นำโลก และองค์กรต่าง ๆ ในครั้งนี้ค่อนข้างมีความสำคัญ เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 1 ทศวรรษของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน Belt and Road Initiative (BRI) หรือ One Belt One Road (OBOR) ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเชื่อมจีนกับสังคมโลกให้แน่นแฟ้น ตลอดจนส่งเสริมการค้าระดับโลกด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมต่อกับเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา
ในการประชุมดังกล่าวประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะสนับสนุนทางการเงินให้กับโครงการตามแผนริเริ่มนี้ รวมถึงอัดฉีดเงินทุนกับกองทุนเส้นทางสายไหมอีก 8 หมื่นล้านหยวน (หรือราว 4 แสนล้านบาท) และช่วยเหลือโครงการขนาดเล็กๆอีก 1,000 โครงการ ตลอดจนขยายความร่วมมือไปยังโครงการอื่นๆด้วย
อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้วิพากษ์วิจารณ์ความพยายามของชาติตะวันตกในการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน พร้อมประกาศยืนหยัดต่อต้านการคว่ำบาตรแต่ฝ่ายเดียว และเรียกร้องชาติต่างๆ ผลักดันความร่วมมือให้เข้มแข็งขึ้น
สี จิ้นผิง กล่าวว่า "ความร่วมมือของหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า ทุกคนมีส่วนร่วม และเปลวไฟจะสว่างโชติช่วง การสนับสนุนซึ่งกันและกันจะพาเราไปได้ไกล ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งหวังที่จะมอบชีวิตที่ดี ไม่ใช่ผู้คนแค่ประเทศเดียวนะครับ แต่ยังรวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย แผนริเริ่มฯส่งเสริมความเชื่อมโยง ผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน การพัฒนาร่วมกัน ความร่วมมือ และผลลัพธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ การเผชิญหน้าด้านอุดมการณ์ การแข่งขันด้านภูมิรัฐศาสตร์ และการเมืองแบบรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน ไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับเรา สิ่งที่เรายืนหยัดต่อต้านคือการคว่ำบาตรเพียงฝ่ายเดียว การบีบบังคับทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการแยกตัวของห่วงโซ่อุปทาน และการหยุดชะงักชันของห่วงโซ่อุปทานครับ"
ทั้งนี้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จีนได้ใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไปแล้วมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีการพัฒนาโครงการความร่วมมือมากกว่า 3,000 โครงการ โดยประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค ได้ผุดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ตั้งแต่ ทางหลวง ท่าเรือ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และทางรถไฟ
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า การค้าที่เพิ่มขึ้นจากความร่วมมือของแผนโครงการนี้อาจเพิ่มรายได้ที่แท้จริงให้ทั่วโลก 0.7-2.9 % และอาจช่วยนำพาผู้คนหลุดพ้นจากความยากจนขั้นรุนแรงได้ 7.6 ล้านคน
ขณะที่รายงานจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (CEBB) คาดการณ์ว่า โครงการนี้มีแนวโน้มเพิ่ม GDP ของโลกได้ 7.1 ล้านล้านดอลลร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 258 ล้านล้านบาท ต่อปีภายใน 2040
อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ เริ่มมีนักวิจารณ์จำนวนมาก โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่นๆ กล่าวหาว่า จีนผลักดันหนี้ให้กับหลายประเทศจนอยู่ในระดับที่ไม่ยั่งยืน และวิพากษ์วิจารณ์ว่า จีนมีส่วนร่วมในการการสร้างการทูตที่เป็นกับดักหนี้ ส่งผลทำให้ประเทศต่างๆ ต้องแบกรับภาระเงินกู้ที่พวกเขาไม่สามารถจ่ายได้ แต่จีนได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว
นับตั้งแต่จีนเริ่มเดินหน้าแผนริเริ่มฯในปี 2013 จำนวนเม็ดเงินการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่จากสถานการณ์ปัญหาด้านเศรษฐกิจของจีนอย่าง ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เวลานี้การลงทุนในโครงการพื้นฐานดังกล่าวเริ่มชะลอตัวลง โดยเฉพาะในแถบแอฟริกา
จากฐานข้อมูลสินเชื่อของจีนในแอฟริกาของมหาวิทยาลัยบอสตัน ระบุว่า ในปี 2016 จีนได้ก้าวเข้าไปยังประเทศในแอฟริกา พร้อมกับเงินสนับสนุนการลงทุนที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยตัวเลขอยู่ที่ 28,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่วนใหญ่เงินส่วนนี้ถูกนำเอาไปลงทุนในแองโกลา แต่ว่าปีที่แล้วการลงทุนในภูมิภาคดังกล่าวเริ่มชะลอตัวลง และจีนได้ให้เงินกู้ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาเพียงแค่ 944.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น
ขณะที่รัฐบาลจีนเริ่มเน้นย้ำถึงข้อดีของโครงการขนาดเล็กมากขึ้น เพราะประเทศที่กำลังพัฒนายังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อผลประโยชน์เชิงกลยุทธของจีน ทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ออสติน สเตรนจ์อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยฮ่องกง ระบุว่าการให้กู้ยืมเงินในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ลดน้อยลง ไม่ได้หมายความว่า กลยุทธ์ของจีนถดถอยลง
ผู้สังเกตการณ์ ยังเชื่อว่า โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนจะยังคงอยู่ต่อไป อย่างน้อยตราบเท่าที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังอยู่ในอำนาจ เนื่องจากเป็นแผนนโยบายต่างประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ของเขา
ด้าน ทิม ซาจอนตซ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสเตลเลนบอชในแอฟริกาใต้ เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มาจากการที่รัฐบาลจีนพยายามจะจัดแนวคิดริเริ่มให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนการพัฒนาทางภูมิรัฐศาสตร์ด้วย
เหล่านี้คือสิ่งที่จะทำให้เราได้เห็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในแอฟริกาน้อยลง และจะเห็นการลงทุนของจีนในภาคการผลิตและการแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำมากขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่จะได้เห็นต่อไปคือ โครงการของแผนริเริ่มดังกล่าวจะมีการร่วมลงทุนในขอบเขตความร่วมมือที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ แต่เป็นด้านวัฒนธรรม การศึกษา และดิจิทัลทั่วแอฟริกาเพื่อแผ่ขยายอิทธิพลของจีน รวมถึงความร่วมมือในด้านความมั่นคงระหว่างจีน และประเทศในแอฟริกามากขึ้นด้วย