Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • กลียุคในเฮติ หลังแก๊งอาชญากรรมยึดครองพื้นที่เมืองหลวง

กลียุคในเฮติ หลังแก๊งอาชญากรรมยึดครองพื้นที่เมืองหลวง

ที่ผ่านมา นานาชาติพยายามแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเฮติ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ทำให้ล่าสุดองค์การสหประชาชาติต้องส่งกองกำลังทหารไปที่นั่น

เมื่อคืนที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ได้เปิดประชุมและลงมติเห็นชอบญัตติส่งกองกำลังสนับสนุนความมั่นคงนานาชาติที่ไม่ใช่กองกำลังของยูเอ็นไปยังเฮติ ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 13 เสียง ต่องดออกเสียง 2 เสียง โดยชาติที่งดออกเสียงคือ รัสเซียและจีน

ยูเอ็นไฟเขียว ส่งกองกำลังช่วยเฮติรับมือแก๊งอาชญากรรม

ผู้แทนรัสเซีย-ยูเครน โทษกันไปมาใน UNSC ปมเขื่อนแตก

กองกำลังที่จะถูกส่งไปพิทักษ์ความมั่นคงในเฮติตามมติดังกล่าว จะมีประเทศเคนยาเป็นแกนนำและทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน มีกรอบระยะเวลาการปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ 1 ปี

หน้าที่หลักของกองกำลังดังกล่าวคือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจแห่งชาติเฮติ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อม รวมถึงการเมืองของเฮติ ให้สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปได้ หลังจากที่ประเทศแห่งนี้เว้นห่างจากการเลือกตั้งมานานถึง 7 ปี เพราะปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ

หลังจากที่ประชุมรับรองข้อมติดังกล่าว ฌอง วิคเตอร์ เจเนอุส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเฮติ ได้กล่าวขอบคุณต่อชาติสมาชิก UNSC ที่ทำให้วิธีการแก้ปัญหาในเฮติเป็นรูปธรรมมากขึ้นก่อนจะย้ำว่านี่คือสัญญาณความก้าวหน้าและความหวังที่จะช่วยให้ชาวเฮติหลุดพ้นจากวังวนของปัญหา

ด้านเจฟฟรีย์ เดอลอเรนติส รองเอกอัครราชทูตถาวรสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติที่ร่างข้อเสนอร่วมกับรัฐบาลเอกวาดอร์ กล่าวว่า ภารกิจของกองกำลังนานาชาตินี้ จะสนับสนุนความต้องการสำคัญของเฮติในระยะสั้น และจะส่งเสริมเงื่อนไขความมั่นคงที่จำเป็นสำหรับเฮติในการสร้างความมั่นคงระยะยาว

ขณะที่เอกอัครราชทูตถาวรเอกวาดอร์ประจำสหประชาชาติระบุว่า ข้อมติของ UNSC นี้คือการส่งสารที่ชัดเจนและแข็งแกร่งถึงผู้นำและสมาชิกของแก๊งที่ก่อหายนะขึ้นในเฮติ

การลงมติของ UNSC ในวันนี้ มีขึ้นหลังรัฐบาลเฮติใช้ความพยายามนานอยู่หลายปี ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 2021 รัฐบาลเฮติส่งจดหมายถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) และรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ส่งกองกำลังนานาชาติเข้ามาช่วยเหลือ

หลังโฌเวแนล โมอิส อดีตประธานาธิบดีเฮติถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี 2021แต่ในตอนนั้นทางการสหรัฐฯ และ UNSC ไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอแต่อย่างใด เนื่องจากที่ประชุม UNSC ไม่สามารถหาประเทศที่จะนำกองกำลังนานาชาติเข้าไปปฏิบัติภารกิจในเฮติได้

จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นส่งจดหมายเป็นการส่วนตัวถึง UNSC ขอให้ชาติสมาชิกส่งกองกำลังนานาชาติที่ไม่ใช่กองกำลังของยูเอ็นไปยังเฮติ

หลังเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บางประเทศ เช่น เคนยา ได้ให้คำมั่นว่าจะระดมเจ้าหน้าที่ของตนเองกว่า 1,000 นายเข้าไปปฏิบัติภารกิจในเฮติ จากนั้นบาฮามาสก็ประกาศส่งทหาร 150 นาย ในขณะที่จาเมกา แอนติกาและบาร์บูดาก็ประกาศว่าพร้อมจะส่งกองกำลังเข้าไปช่วยเหลือเฮติเช่นกัน

ทั้งนี้ ภารกิจช่วยเหลือด้านความมั่นคงครั้งนี้ไม่ใช่ปฏิบัติการของยูเอ็น แม้จะได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ตาม ในอดีต ยูเอ็นเคยส่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติไปยังเฮติในปี 2004 หลังเกิดเหตุกบฏจนนำไปสู่การขับไล่ ฌอง-แบร์ทรองด์ อาริสติด อดีตประธานาธิบดี ก่อนที่ยูเอ็นจะสั่งถอนกำลังรักษาสันติภาพในปี 2017 และแทนที่ด้วยตำรวจแห่งสหประชาชาติ ก่อนที่ตำรวจแห่งสหประชาชาติจะถอนกำลังออกไปในปี 2019 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน

การผ่านมติของยูเอ็นให้มีการส่งกองกำกลังนานาชาติเข้าไปในเฮตินับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวิธีการในการต่อสู้กับกลุ่มแก๊งอาชญากรรมที่กำลังกัดกินประเทศนี้เฮติเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก

ปัญหาต่างๆ ในเฮติ ทั้งความไม่มั่นคง ปัญหากลุ่มแก๊ง ไปจนถึงวิกฤติเศรษฐกิจฝังรากลึกในสังคมเฮติมาตั้งแต่หลังจากที่ประเทศได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส

เฮติตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาและเคยเป็นประเทศอาณานิคมที่ร่ำรวยที่สุดของฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมน้ำตาลและกาแฟ รวมถึงสินค้าพื้นเมือง ความรุ่งเรืองที่แลกมากับแรงงานทาสผิวดำจากแอฟริกา ได้ทำให้เกิดการลุกฮือต่อสู้เพื่ออิสรภาพ นำไปสู่การได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี 1804 และเหล่าผู้ที่เคยเป็นทาสก็ได้สถาปนาประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติในครั้งนั้นได้ทำลายระบบเศรษฐกิจของเฮติ

ขณะที่การวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยในประเทศก็ล้มเหลว แม้จะมีความพยายามจัดการเลือกตั้ง แต่ก็มักตามมาด้วยรัฐประหารที่นับไม่ถ้วน ผู้นำบางคนก็ถูกบีบให้ลาออกแม้จะพึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ไม่ถึงปี

ซ้ำร้ายยังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงหลายครั้ง เฮติจึงกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก

ปัจจัยเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เฮติขาดเสถียรภาพ ขาดระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และหน่วยงานความมั่นคงของเฮติก็อ่อนแอ

นอกจากนี้ยังมีการทุจริตเกิดขึ้นในหมู่เจ้าหน้าที่ตำรวจและนักการเมือง หลายคนยอมจ่ายเงินให้กับแก๊งต่างๆ เพื่อหาเสียงในเขตที่แก๊งเหล่านั้นควบคุมดูแลอยู่ ขณะเดียวกันแก๊งเหล่านี้ก็เริ่มมีอิทธิพลมากกว่ากองทัพและตำรวจจากการสนับสนุนของนักการเมือง

สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก เมื่อเกิดเหตุการลอบสังหารประธานาธิบดีโฌเวแนล โมอิสเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมปี 2021

 กลียุคในเฮติ หลังแก๊งอาชญากรรมยึดครองพื้นที่เมืองหลวง

นับตั้งแต่เหตุการลอบสังหารประธานาธิบดีโฌเวแนล อิทธิพลของแก๊งอาชญากรรมอื่นๆ ก็ได้แผ่ขยายไปทั่วประเทศ

แผนที่ที่แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของกลุ่มแก๊งต่างๆ ในกรุงปอร์โตแปรงซ์และพื้นที่โดยรอบ ประกอบด้วย แนวร่วมจีเพพ (G-Pep) แนวร่วมจีไนน์ (G9) และกลุ่มอื่นๆ แนวร่วมจีไนน์เป็นกลุ่มที่ยึดพื้นประมาณร้อยละ 30 ของเมืองหลวง รวมถึงพื้นที่สำคัญ เช่น บริเวณคลังน้ำมัน อาคารรัฐสภา และสำนักนายกฯ เฮติ ขณะที่แนวร่วมจีเพพและอื่นๆ ยึดครองพื้นที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของเมืองหลวง ล่าสุด องค์การสหประชาชาติประเมินว่า แก๊งอาชญากรได้ควบคุมพื้นที่เมืองปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปแล้วประมาณร้อยละ 80

อย่างไรก็ดี ในบรรดากลุ่มแก๊งต่างๆ กลุ่มที่ทรงอำนาจมากที่สุดคือ จีไนน์ (G9) เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจิมมี เชอริซิเยร์ (Jimmy Cherizier) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บาร์บีคิว (Barbecue)” หัวหน้าแก๊ง G9 เพิ่งนำสมาชิกในกลุ่มเดินขบวนประท้วงไปทั่วกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศ ประกาศโค่นล้ม แอเรียล อองรี ประธานาธิบดีรักษาการคำพูดจาก สล็อต777

ขณะที่บรรดาแก๊งอาชญากรรมต่างๆ ที่ยึดพื้นที่เมืองหลวง ได้ก่อเหตุอุกอาจ ทั้งเรียกเก็บค่าคุ้มครอง ลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ บุกเผาบ้านปล้นสะดมภ์ประชาชน ไปจนถึงเกิดการปะทะระหว่างแก๊ง

นี่ส่งผลให้เมืองหลวงเฮติเกิดความไม่สงบ เศรษฐกิจหยุดชะงัก และผู้คนจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุปะทะแย่งชิงพื้นที่กันระหว่างแก๊งอันธพาลในย่านคาร์ฟูร์ เฟยล์ (Carrefour Feuilles) ไม่ไกลจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ ส่งผลให้มีประชาชนทั่วไปเสียชีวิต และอีกจำนวนมากต้องหนีไปหลบภัยตามโรงเรียนหรือโรงภาพยนตร์

นอกจากนี้ เฮติยังถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนหลายล้านคนเข้าสู่ภาวะอดอยาก จำนวนมากเลือกที่จะอพยพหนีออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัย โดยส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังสหรัฐฯ และเม็กซิโก

ประชาชนที่ต้องลี้ภัยความไม่สงบจากเมืองหลวงของเฮติบอกกับผู้สื่อข่าวว่าหากในอนาคตประเทศเกิดสันติภาพและความสงบเรียบร้อย แต่พวกเขาจะไม่มีวันหวนกลับไปอยู่ที่เดิม

ท่ามกลางความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศ จนรัฐบาลเฮติภายใต้การนำของแอเรียล อองรี ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีรักษาการ ไม่สามารถควบคุมสถานกาณ์ได้ จึงเป็นที่มาของการส่งกองกำลังต่างชาติเข้าไปควบคุมสถานการณ์ หวังให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ